fbpx

Portfolio Category: เที่ยวเมืองน่าน

เที่ยวเมืองน่าน : พระธาตุแช่แห้ง

วัดพระธาตุแช่แห้ง (พระธาตุประจำปีเกิดปีเถาะ) พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดน่าน เดิมเป็นวัดราษฎร์ องค์พระธาตุเป็นที่ประดิษฐาน พระเกศาธาตุและ พระบรมธาตุข้อพระหัตถ์ข้างซ้าย ตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ เป็นสีทอง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต รูปแบบขององค์พระเจดีย์เป็นแบบล้านนาได้รับอิทธิพลจากเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย ผสมกับศิลปะพม่า ใช้แผ่นทองเหลืองบุรอบฐาน แล้วลงรักปิดทอง ตัวพระธาตุ ตั้งอยู่บนเชิงเนินปูด้วยอิฐลาดขึ้นไปยังยอดเนิน กว้างประมาณ 20 วา มีบันไดขนาบทั้งสองข้าง
วิหารหลวงอยู่ทางทิศใต้ขององค์พระธาตุ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูทางเข้าสี่ด้าน ที่ประตูทางเข้าด้านหน้ามีปูนปั้นรูปสิงห์สองตัวตามแบบศิลปะพม่า เหนือกรอบประตูด้านหน้าและหลังประดับลายปูนปั้นเป็นรูปนาคเกี่ยวกระหวัดกันแปดตัว หลังคาทรงจั่วซ้อนลดหลั่นสามชั้นตามแบบล้านนา ที่น่าสนใจคือ ตรงกลางสันหลังคาทำเป็นส่วนหางของนาคสองตัวเกี่ยวกระหวัดกันขึ้นไปเป็นสามชั้น เป็นศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากล้านช้างที่งดงามและหาดูได้ยากในปัจจุบัน Read more

เที่ยวเมืองน่าน : พระธาตุเขาน้อย

วัดพระธาตุเขาน้อย จุดชมวิวที่สวยที่สุดแห่งวิวล้านนาตะวันออก

ตั้งอยู่ที่ ต.ดู่ใต้ อ. เมืองน่าน อยู่บนดอยเขาน้อย มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 250 เมตร หน้าวัดเป็นทางขึ้นเป็นบันไดนาค 303 ขั้น (ถ้าเดินไม่ไหวก็มีเส้นทางขับรถขึ้นไปได้นะครับ) เมื่อขึ้นไปยืนบนยอดเขาจะมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองน่านได้อย่าชัดเจน สร้างโดยมเหสีรองของ พญาภูเข็ง เจ้าผู้ครองนครน่าน และได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ในส่วนขององค์พระธาตุโดยตลอด จนกระทั่งมีการบูรณะครั้งใหญ่ ในสมัย พระเจ้าสุริยพงษ์ผริเดชฯ โดยช่างชาวพม่า ชื่อหม่องยิง ทางด้านกรมศิลปากรได้ทำการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2523 wat_prathat_kao_noi_01
ด้วยความเป็นวัดที่อยู่บนเขาสูง จุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่ตรงลานปูน...
Read more

เที่ยวเมืองน่าน : พระธาตุช้างค้ำ

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เดิมมีชื่อเรียกว่า "วัดหลวง" หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” ตั้งอยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน (หอคำ) สร้างขึ้นในปีสมัยพระเจ้าปู่แข็ง พ.ศ.1949 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนา และพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาในอดีตตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091 ลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดพระธาตุช้างค้ำนี้ สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศิลปะ สุโขทัย อาทิ เจดีย์ทรงลังกา ( ทรงระฆัง) รอบฐานองค์พระเจดีย์ก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือก และที่มุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ดูคล้ายจะเอาหลังหนุน หรือ “ค้ำ” องค์เจดีย์ไว้ ลักษณะคล้ายวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย และถายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดยืนปางประทานอภัย อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางประทานอภัยที่วัดราชธานี จังหวัดสุโขทัย wat_phra_that_chang_kam_02
Read more

เที่ยวเมืองน่าน : บ่อเกลือสินเธาว์โบราณ

บ่อเกลือสินเธาว์โบราณ "บ่อเกลือโบราณบ้านบ่อหลวง. อำเภอบ่อเกลือ อยู่ไม่ไกลจาก บ่อเกลือวิวรีสอร์ท เดิมเรียกว่า "เมืองบ่อ" เพราะในอดีตเมืองนี้มีบ่อเกลือสินเธาว์ มากถึง 7 บ่อ คือ บ่อหลวง บ่อหยวก บ่อเวร บ่อน่าน บ่อกิน บ่อแคะ และบ่อเจ้า แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 2 บ่อเท่านั้น เรียกว่าบ่อเกลือเหนือ และบ่อเกลือใต้
บ่อเกลือแห่งนี้อยู่ใกล้ บ่อเกลือวิวรีสอร์ท ขับรถไม่ถึง 5 นาทีก็มาถึง หลังจากที่จอดรถก็เห็นคุณลุงกำลังต้มเกลือ ลุงเด้ง ป้าไก่ ก็ได้เข้าไปสอบถามว่า ลุงเด้ง : "ทำไมที่น่านถึงมีบ่อน้ำเกลือ...
Read more